กลุ่มธุรกิจกลุ่มพลังงาน

กลุ่มธุรกิจกลุ่มพลังงาน


โดยส่วนตัวผมจะแบ่งกลุ่มธุรกิจพลังงานออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1.ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน 2.ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน 3.ธุรกิจปิโตรเคมี 4.ธุรกิจขุดเจาะแหล่งพลังงาน
1.) ธุรกิจน้ำมัน จะเป็นธุรกิจที่่มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของการใช้น้ำมัน และธุรกิจนี้จะเป็นผู้ให้บริการค้าปลีกในการส่งน้ำมันให้แก่ปั๊มน้ำมัน หลังจากที่ผ่านการกลั่นจากโรงกลั่นเพื่อนำมาจำหน่าย ดังนั้นธุรกิจน้ำมันจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน โดยทั้งนี้จะอยู่ที่ความต้องการของผู้บริโภคทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม หากผู้ผลิตไม่สามารถผลิตน้ำมันออกมาได้ตามความต้องการของผู้บริโภค ย่อมส่งผลให้เกิดน้ำมันขาดแคลนทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้แหล่งน้ำมันใหญ่ๆของโลกจะอยู่โซนตะวันออกกลาง ดังนั้นหากเกิดปัญญาในบริเวณแหล่งน้ำมันสำคัญๆ หรือเกิดสงครามย่อมส่งผลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
2.)ธุรกิจโรงกลั่น ธุรกิจโรงกลั่นจะทำหน้าที่ในการกลั่นน้ำมันโดยรับน้ำมันดิบจากแหล่งการผลิต โดยโรงกลั่นนั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะ 1.simple refiner 2.complex refiner
2.1 ) Simple refiner เป็นโรงกลั่นแบบธรรมดาโดยใช่เทคโนโลยีแบบเก่า ที่ไม่สามารถกลั่นน้ำมันได้คุณภาพที่สมบูรณ์ดังนั้นจึงทำให้ได้น้ำมันที่คุณภาพต่ำเจือปนเป็นน้ำมันเตา
2.2 ) Complex refiner เป็นโรงกลั่นแบบเชิงซ้อนที่สามารถกลั่นน้ำมันได้ดีกว่าแบบ Simple refiner สามารถกลั่นน้ำมันออกมาได้ทุกประเภทและมีคุณภาพสูงมากกว่าแบบเทคโนโลยีเก่า ดังนั้นการที่สามารถกลั่นน้ำมันที่มีคุณภาพสูงได้มากกว่าจึงทำให้ โรงกลั่นแบบ Complex จะมีอัตรากำไรที่สูงมากกว่าโรงกลั่นแบบ Simple refiner
โรงกลั่นน้ำมันนั้นจะมีส่วนของกำไร ที่เป็นส่วนต่างจากน้ำมันดิบและน้ำมันที่กลั่นซึ่งจะเรียกว่า "ค่าการกลั่น" (Gross refining margin) GRM ก็คือส่วนต่าง (Spread) ระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น (Ex.Refinery Price) กับราคาน้ำมันดิบที่โรงกลั่นซื้อมาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น ซึ่งยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆครับ ค่าการกลั่นนี้จะเป็นไปตามราคาตลาดน้ำมันโลก ดังนั้นหากราคาน้ำมันยิ่งปรับตัวสูงขึ้นยิ่งทำให้โรงกลั่นสามารถเพิ่มค่าการกลั่นได้สูงขึ้นเช่นกัน ราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยจะอ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์บวกกับค่าขนส่ง เพราะตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเพื่อโรงกลั่นภายในประเทศจะได้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาการลงทุนเพิ่มเติมและปรับปรุงเพื่อแข่งราคากับน้ำมันสำเร็จจากสิงคโปร์ครับ ปัจจุบันจะมีโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นในแถบตะวันออกกลาง และในเอเชียก็จะมีที่ประเทศจีนครับ
3.)ธุรกิจปิโตรเคมี จะแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ 1.สายอโรเมติกซ์ 2.สายโอเลฟินส์ 3.1 ) สายอโรเมติกซ์นั้นจะเริ่มต้นจากการนำผลผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันมาแปนรูปซึ่งสามารถนำไปสังเคราะห์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เช่น ยางรถยนต์ เชือกไนล่อน
3.2 ) สายโอเลฟินส์ จะนำผลผลิตจากโรงแยกก๊าซ จากโรงกลั่นน้ำมันมาแปรรูปซึ่งสามารถสังเคราะห์ให้เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น ท่อพีวีซี ขวด ถุงพลาสติก เป็นต้น
ปิโตรเคมีจะมีลักษณะเป็นสินค้า commodities ซึ่งราคาจะเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของความต้องการของตลาดโลก ทั้งด้านผู้บริโภค และผู้ผลิต ดังนั้นกำไรหุ้นปิโตรเคมีจึงขึ้นอยู่กับส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และราคาวัตถุดิบ หากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเพิ่มขึ้นในตลาดโลกเพิ่มขึ้นผลกำไรก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกันหาราคาผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกลดลง ผลกำไรก็จะปรับลดลงเช่นกัน จึงทำให้ราคาหุ้นของกลุ่มปิโตรเคมีมีความผันผวนสูงตามราคาตลาดโลกและจะเป็นไปตามรอบวัฎจักรที่ขึ้นอยู่กับ Demand และ supply จากผู้บริโภคและผู้ผลิตครับ
4.)ธุรกิจขุดเจาะแหล่งพลังงาน มีหน้าที่ในการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ ทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ ทำการลงแท่นขุดเจาะและส่งผลิตภัณฑ์ต่อให้กับโรงกลั่น รายได้หลักจึงมาจากการขายพลังงาน ทั้งนี้ธุรกิจขุดเจาะได้ขยายตัวไปยังต่างประเทศเพื่อหาแหล่งพลังงานใหม่ ในประเทศไทยมีแหล่งพลังงานสำคัญบริเวณอ่าวไทยซึ่งจากความต้องการของผู้บริโภคจึงทำให้แหล่งพลังงานอ่าวไทยถูกใช้ไปในปริมาณมากจึงต้องเหลือสำรองพลังานไว้อย่างจำกัด ดังนั้นจึงพูดได้ว่าหุ้นธุรกิจขุดเจาะหาแหล่งพลังงาน จะมีราคาและผลกำไรตามทิศทางของราคาน้ำมันหากราคาขายสูงขึ้นก็จะยิ่งส่งผลโดยตรง และการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆยิ่งมีมากขึ้นก็ยิ่งส่งผลดีต่อกำลังการผลิต หุ้นธุรกิจขุดเจาะแหล่งพลังงานเช่น PTTEP นั้นจะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไทยมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะมีฐานรายได้ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้ หากค่าเงินบาทยิ่งแข็งตัวก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อกำไร และหากค่าเงินบาทอ่อนตัวก็ยิ่งส่งผลดีต่อกำไรครับ

เครดิต
Nikky
(ห้องคุยนักลงทุน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น