ปกติลักษณะการเทรดของผมจะเป็นการเทรดหุ้นที่ปรับตัวลงมาซึ่งผมเรียกว่า การเทรดแบบ "TOP - DOWN" สาเหตุที่ผมชอบการเทรดรูปแบบนี้ แท้จริงแล้วผมไม่ได้หวังกำไรมากมายมหาศาลจากการเทรดหุ้นที่ย่อตัวหรือต้องการซื้อบริเวณราคาต่ำสุดๆ แต่เพราะผมต้องการลดความเสี่ยงโดยการเข้าไปเทรดหุ้นที่ปรับตัวลงมาสักระยะหนึ่งแล้วและใช้ลักษณะของ pattern และแท่งราคาในการยืนยันแนวโน้ม ผมไม่สนใจ Over bought หรือ over sold เพราะก่อนจะเกิดอะไรขึ้นแท่งราคาก็ย่อมแสดงตัวตนก่อนเสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ แท่งราคาและ Volume ทุกๆอย่างบอกเราหมดแล้วจาก 2 สิ่งนี้ แต่ผมได้เพิ่มลักษณะการเทรดโดยใช้ RSI เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อวัด Momentum ของราคา มิได้ใช้เพื่อดูซื้อมากหรือน้อย ผมนำ RSI มาใช้เพื่อจับการ Divergence การขัดแย้งของราคา และนำมาตีแนวรับแนวต้านและ Trend line เพื่อดูกรอบราคาและเทรนด์ของ RSI ดังนั้นสิ่งสำคัญในการเทรดของผมคือ แท่งราคา , Volume, การ Divergence , Pattern , reversal และที่ขาดไม่ได้เลยคือ แนวรับ แนวต้าน Trend line ครับ
แนวรับและแนวต้านก็มีอีกหลายลักษณะทั้ง แนวต้านแนวรับระดับ Major แนวต้านแนวรับระดับ Minor ซึ่งก็จะเป็นตัวบ่งบอกความแข็งแรงของแนวต้านและแนวรับ การดู Major หรือ Minor นั้นก็ใช้วิธีการตามทฤษฎี Dow Theory ในบางครั้งผมอาจจะใช้ทฤษฎีเอลเลียตเวฟ เพื่อพิจารณาแนวโน้มซึ่งส่วนใหญ่ผมจะใช้กับหุ้นที่มีสภาพคล่องมากๆ และกับดัชนี Set index อันที่จริงแล้วผมไม่ได้เชียญชาญเอลเลียตสักเท่าไร รู้ไว้เพียงเพื่อศึกษาและพิจารณาประกอบ "เครื่องมือที่เป็นลักษณะของการคาดการณ์ มักจะแฝงความคาดเคลื่อนตามมาด้วยเสมอ" ผมคิดง่าระบบที่ดีในการเทรดคือระบบที่ง่าย และไม่ซับซ้อน เอลเลียตคือทฤษฎีที่แตกมาจาก Dow theory อันที่จริงโดยจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมมีความคิดเห็นว่าบางทีก็ไม่จำเป็นต้องไปเจาะจงใช้เอลเลียตหรอกครับ เอาแค่พอรู้ก็พอแล้ว เซียนหุ้นหรือแม้แต่ระดับเทรดเดอร์ที่มีพอร์ตระดับโลก หลายตอ่หลายคนก็ไม่ใช่เซียนนับคลื่นหรือเทพแห่งการนับอะไรขนาดนั้น บางคนก็พูดด้วยซ้ำว่าเอลเลียตเวฟนั้น มันยืดหยุ่นเกินไปและมันเป็นวิธีการที่สร้างมาเพื่อไม่ให้ตัวมันผิด คนผิดก็คือคนนับเวฟเองนั่นแหละ ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละบุคคล แต่สำหรับผมนั้นผมก็มีความเห็นว่ามันใช้ได้ครับ แต่มันก็มีความคลาดเคลื่อนประกอบในตัวของมันเอง และทฤษฎีนี้มันไม่มีจุดอ่อนให้คุณบอกว่ามันผิดหรอกครับ สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนและเทรดคือ คุณต้องเข้าใจ จิตวิทยาและ การ Action ของราคา รู้ว่าเขากำลังจะทำอะไร ถึงเข้าไปเทรด หากหน้ามืดวิ่งเข้าไปแบบไม่รู้ไม่ชี้อะไรก็เหมือนการปิดตาวิ่งเข้าตลาดแหละครับ และสุดท้ายคุณก็คือเหยื่อชั้นดีในตลาดหุ้น ที่เนื้อหอมมีแต่คนมารุมล้อมเพื่อที่จะขโมยเงินจากกระเป๋าตังค์คุณไปแบบต่อหน้าต่อตา
โดยปกติการปรับตัวลงมาของราคานั้นจะมีรูปแบบทางจิตวิทยาเสมอ ซึ่งด้วยความเชื่อส่วนตัวผมจะมีความเชื่อว่าแท่งราคาและ Volume เป็นตัวที่จะดำเนินทิศทางไปในแนวโน้มเดียวกัน หากแท่งราคาปรับตัวลงมาเรื่อยๆ แล้ว volume เริ่มบางๆลงก็เป็นสัญญาณที่ดีที่ราคาจะเริ่มยืนสร้างฐานเหนือแนวรับ และเช่นเดียวกันหากแท่งราคาปรับตัวขึ้นแต่ Vol. ไม่เติมแบบนี้ก็มีโอกาสเสี่ยงที่ราคาจะย่อตัวพักแรงหลังจากปรับตัวขึ้นมา ที่สำคัญการคอยสังเกตการขัดแย้งของราคาและ indicator ก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดเสมอหากราคาจะเริ่มเปลี่ยนแนวโน้มจาก Bearish เป็น Bullish ทุกๆครั้งของการกลับตัวจะเกิดการ divergence และแท่งราคาก็จะเกิดลักษณะ reversal เมื่อราคาเกิดการ Divergence แล้วจะมีจังหวะที่ราคาหุ้นจะรีบาวด์ขึ้นไป แต่ทุกๆครั้งที่ราคาหุ้นปรับขึ้นหลังจากที่ปรับตัวลงมาสักพัก ราคาจะขึ้นไปแล้วจะย่อก่อนเสมอ เพื่อทำการทดสอบแนวรับซึ่งเป็นลักษณะการยกตัวตามรูปแบบ Dow Theory "ยก low และทำ high" ซึ่งเมื่อเกิดรูปแบบ Dow theory ราคาก็จะเกิดการสร้าง Pattern อาทิเช่น Head and shoulder pattern , W shape pattern ทุกๆ pattern จะสอดคล้องกับลักษณะ dow theory เสมอครับ
ผมกำลังตามดูหุ้นใน list นี้อยู่ และมีบางตัวที่เก็บสะสมไปแล้วครับ
JMART แนวต้าน 11 แนวรับ 10.6
TOP แนวต้าน 43.5 แนวรับ 42.5
DCON แนวต้าน 18.4/17.9 แนวรับ 17.6
BJC แนวต้าน 43.75 แนวรับ 42
GLOBAL แนวต้าน 12.6 แนวรับ 12.1
ROBINS แนวต้าน 48.5 แนวรับ 45
CPF แนวต้าน 30 แนวรับ 28.5
TAE แนวต้าน 4.60 แนวรับ 4.44
M แนวต้าน 60.5/59 แนวรับ 58
BA แนวต้าน 20.4 แนวรับ 19.8
IFEC แนวต้าน 15/14 แนวรับ 11.7/11.5
IVL แนวต้าน 22 แนวรับ 21.4
HMPRO แนวต้าน 8.8 แนวรับ 8.5/8.13
PLS แนวต้าน 20 แนวรับ 19
TTA แนวต้าน 21/20.7 แนวรับ 20
BJCHI แนวต้าน 35.25 แนวรับ 34
ICHI แนวต้าน 22.5 แนวรับ 20.7
TTCL แนวต้าน 28 แนวรับ 27.25
เครดิต
Niik Agapol Chamnanpanich
(ห้องคุยนักลงทุน)