การวิเคราะห์ valuation อย่างง่าย

การวิเคราะห์ valuation อย่างง่าย
โดยปกติการประเมินมูลค่านั้น ผมจะใช้หลักๆ คือ DDM (Divedend Discount Model) , DCF(discounted cash flow) , P/E และ P/BV ครับ
โดยปกติสำหรับนักลงทุนใช้แค่ วิธีการ DDM ,P/E,P/BV ก็ได้ครับผมว่ามันก็ตอบคำถามเราได้ดีแล้ว แต่การจะประเมิน valuation นั้นอยากให้เลือกบริษัทที่มี EPS ที่โตอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น ซึ่ง EPS นี้เราก็ต้องเลือกกลุ่มครับเพราะแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นเขามี EPS ที่แตกต่างกัน อย่างเช่นกลุ่มปิโตรเคมี จำพวกนี้จะมีความผันผวนมากซึ่งผมจะไม่ค่อยสนใจในการลงทุนในกลุ่มแบบนี้ P/E ก็เช่นกันเราจะนำไปเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไม่ได้ครับเพื่อวัดความถูกแพง เพราะแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมี P/E ที่แตกต่างกันหากอยากวัดมูลค่าถูกแพงด้วย P/E ก็ควรวัดในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันครับ โดยปกติผมจะไม่ค่อยชอบใช้ P/E จะให้น้ำหนักกับ P/BV เสียมากกว่าครับ และธุรกิจที่ผมชอบและจะลงทุนนั้นจะมีคุณลักษณะตามตัวเลขทางการเงินดังนี้
1.P/E มากน้อยสำหรับผมไม่สำคัญครับ เพราะหากการเติบโตยังต่อเนื่องค่า P/E ก็มีโอกาสโตขึ้น หาก P/E สูงถือว่างแพงใช่ไหมก็ไม่เสมอไปครับเพราะคุณต้องดูค่า return ด้วยว่ามันตอบแทนมาให้ผู้ถือหุ้นคุ้มค่าไหม ดังนั้นผมไม่สนใจ P/E สักเท่าไรมองตัว return มากกว่าและการเติบโตของ growth มากกว่าครับ
2.P/BV อันนี้ผมให้ความสำคัญมากเพราะ Book value นั้นจะผันผวนตามราคาได้น้อยกว่า P/E และ P/BV นั้นผมจะใช้เป็นตัวหาขอบเขตของ Fair value ครับ
3.ROE ตรงนี้คือสิ่งที่ผมมองที่สุดหากมีการ Return กลับมามากๆ แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรตอบแทนผู้ถือหุ้น ดังนั้นตัวเลขนี้ยิ่งมากผมยิ่งชอบและสนใจครับ
การประเมิน valuation นั้นหลักๆเราต้องมาทำการหาค่า K และค่า G กันเสี่ยก่อน
K =อัตราการตอบแทนที่ต้องการ
G= อัตราการเติบโต
การหาค่า K นั้นเปรียบเสมือนการวัดความเสี่ยงและผลตอบแทนในการลงทุน โดยในการวิเคราะห์หาค่า K นั้นเราจะใช้วิธีการดังนี้ครับ
กาหาค่า K = Rf+(Rm-Rf)*beta
Rf = Risk Free Rate = ผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี
RM = ผลตอบแทนของตลาด (Market Return) ซึ่งปกติจะประมาณ 11%-12% ครับเพราะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
beta = ตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเทียบระหว่างการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยปกติจะมี 0.5 , 1 , 2 ครับ
อาทิเช่น หากหุ้น A มี beta เท่ากับ 2 นั่นแสดงว่า หากตลาดขึ้น 1 % หุ้น A ก็จะขึ้นเป็น 2 % และเช่นเดียวกันหากตลาดลงหุ้นลง 1 % หุ้น A ก็จะลง 2 % อีกกรณีนึงหากหุ้น A มี beta = 1 นั่นแสดงว่าหากตลาดขึ้น 1 % หุ้น A ก็จะขึ้นเป็น 1 % และเช่นเดียวกันหากตลาดลงหุ้นลง 1 % หุ้น A ก็จะลง 1 % ดังนั้นจะเห็นว่า beta นั้นคือตัวแสดงความผันผวนของราคาครับ ส่วนกรณี beta ติดลบ นั้นผมจะเห็นน้อยมากครับ ไม่ค่อยจะมีเท่าไร หากมีก็จะ บอกเราได้ว่า หากตลาดขึ้นหุ้นจะลง หากตลาดหุ้นลง หุ้นตัวนั้นๆจะขึ้นครับ นี่คือการอธิบายสูตรอย่างง่ายๆ ให้พอเข้าใจ
‪#‎ต่อมาเรามาหาค่า‬ K กันครับ
จากสมการ K = Rf+(Rm-Rf)*beta
หุ้น A มี beta = 1 ,Rf = 4 % ,Rm = 12 % จะได้
K = 4%+(12%-4%)*1
= 12 %
เพราะฉะนั้นค่า K = 12 %
‪#‎การหาค่า‬ Growth (G) อัตราการเติบโต เราจะสามารหาได้จากสมการ
G = ROE*(1-Payout ratio)
โดย ROE = Return On Equity หรือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น คือ กำไรสุทธิหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น โดยส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับสินทรัพย์รวมลบด้วยหนี้สินรวม
Payout ratio = อัตราการจ่ายปันผล
‪#‎สิ่งที่สำคัญคือ‬ ROE หากกรณีเพิ่มขึ้นทุกๆปีเราสามารถเลือกปีล่าสุดได้ครับ แต่หากกรณี ROE ลงบ้างเพิ่มขึ้นบ้างในช่วง 3-5 ปี ให้เรามาหาค่าเฉลี่ยแทน เพื่อนำค่าเฉลี่ยจะ 3 ปีหรือ 5 ปี ของ ROE มาคำนวณแทนครับ
จาก G = ROE*(1-Payout ratio)
บริษัท A มี ROE 22 % และมี Payout ratio ที่ 50 %
จะได้ G = 22%*(1-50%)
= 11 %
เพราะฉะนั้นค่า G = 11 %
ตอนนี้เราได้ค่า K และ G แล้วต่อมาก็นำมาประเมิน Valuation กันต่อครับ โดยผมจะขออธิบายวิธีการ DDM (Divedend Discount Model) หรือการวัดมูลค่าแบบคิดลดปันผล DDM จะแบ่งได้ 3 กรณี
1.กรณีที่เงินปันผลจ่ายคงที่ทุกๆงวด
2.เงินปันผลเพิ่มขึ้นคงที่ทุกๆงวด
3.เงินปันผลเพิ่มไม่คงทีทุกงวด
ในที่นี้ผมขอพูดในกรณีอย่างง่าย กรณีที่ 1 กับ 2
‪#‎กรณีที่‬ 1 กรณีที่เงินปันผลจ่ายคงที่ทุกๆงวด
จะพิจารณาได้จาก สมการ D/K เช่นหุ้น A จ่ายปันผล 8 บาท และสมมติว่าผมต้องการผลตอบแทน 10 % ดังนั้นจะได้ราคาที่เหมาะสมโดยใช้กรณีที่ 1 เท่ากับ (8/10%) = 80 บาท ดังนั้นหากราคาไม่ต่ำกว่านี้ผมจะไม่ซื้อหุ้นตัวนี้ครับ
#กรณีที่ 2 เงินปันผลเพิ่มขึ้นคงที่ทุกๆงวด เราจะพิจารณาได้จากสมการ (D(1+g)/k-g) เช่นหุ้น A จ่ายปันผล(D) 8 บาท และผมต้องการผลตอบแทน(K) = 10 % โดยหุ้น A นี้จะมีอัตราการเติบโต (G) = 5 %
จะได้ 8(1+5%)/10%-5% = 168 บาท ดังนั้นหากราคาไม่ต่ำกว่านี้ผมจะไม่ซื้อหุ้นตัวนี้ครับ
นี่ละครับการประเมิน valuation อย่างง่ายต่อมาผมจะเพิ่มการหา P/E และ P/BV เข้าไปอีกเพื่อประเมินราคา การใช้ P/E เราต้องรู้กำไรสุทธิของหุ้นปีล่าสุดก่อน แล้วค่อยนำมาประเมินมูลค่าครับ
‪#‎การหา‬ P/E ที่เหมาะสม
จากกรณีหุ้น A ข้างต้น มีค่า Payout ratio = 50 % K= 12 % และค่า G = 11 %
ดังนั้นประเมิน P/E เหมาะสมจะได้ (Payout ratio/K-G) = 50% / 12%-11% = 50 เท่า
ต่อมาหาเราจะนำค่า P/E ที่ได้มาประเมินมูลค่ากันก็นำ 50 เท่า จากข้างต้นมาคูณกับกำไรสุทธิ โดยในที่นี้ผมสมมติกำไรสุทธิหุ้น A ที่ 1.20 บาท ดังนั้นจะได้ 50 *1.20 = 60 บาท ดังนั้นหากผมจะซื้อหุ้นตัวนี้ราคาต้องน้อยกว่า 60 บาทครับ
#การหา P/BV ที่เหมาะสม
เช่นเดียวกันครับสำหรับ P/BV เราก็ต้องรู้มูลค่าทางบัญชีปีล่าสุดเช่นกัน โดยในที่นี้ผม สมมติให้ มูลค่าทางบัญชีปีล่าสุด = 3.20
ต่อมาเราหาค่า P/BV จาก ROE-G/K-G จะได้จากข้างต้นผมสมติหุ้น A มี ROE = 22 %-11% / 12%-11% = 11 บาท ครับ
ทั้งนี้ตัวเลขที่มันผันผวนห่างกันมากไปก็เพราะว่าตัวเลขทั้งหมดผมสมมติขึ้น ดังนั้นพี่ๆสามารถนำวิธีการข้างต้นไปหามูลค่าได้เลยครับโดยอ้างอิงจากงบการเงินและตัวเลขในบัญชี ผมไม่อยากจะเลือกหุ้นตัวใดตัวนึงมาอธิบายเลย ยกตัวเลขมาให้ครับ
‪#‎อีกกรณีหนึ่งที่สำคัญหากพี่ๆลองนำการประเมิน‬ valuation ข้างต้นไปใช้แล้วอาจจะเจอกรณีที่ค่า K-G แล้วติดลบ กรณีแบบนี้ให้พี่สมมติค่า G ขึ้นมาใหม่ โดยปกติหากผมประเมิน valuation แล้วติดลบผมจะ เปลี่ยนค่า G โดยใช้ตัวเลข 3 % 5 % 7 % ซึ่งตัวเลขข้างต้นนี้อ้างอิงจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลครับ
ด้วยรักและเคารพ

เครดิต
Nikky
(ห้องคุยนักลงทุน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น