10เรื่องของนักปั่นหุ้นที่คุณไม่รู้
โดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์
คำเตือนก่อนอ่าน:บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณเข้าไปเป็นลูกขา ลูกวง ลูกทีม หรือเครือข่ายสายในนักปั่นหุ้น แต่เอาไว้ให้รู้ทันเกมของนักปั่นหุ้นเท่านั้น
1.นักปั่นหุ้นจะทำงานของเขาหรือเธอแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ขั้นแรก เก็บหุ้น ขั้นที่สอง ไล่ราคาหุ้น ขั้นที่สาม ขายหุ้น
2.นักปั่นหุ้นจะเลือกเป้าหมายปั่น เป็นหุ้นขนาดเล็กมูลค่าการตลาดหลักร้อยล้านหรือพันล้านบาท เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมราคาหุ้นให้อยู่ในกำมือ
3.นักปั่นหุ้นมักจะร่วมมือกับเจ้าของหุ้นที่จะเข้าไปปั่นราคา โดยอาจทำข้อตกลงให้ยกหุ้นทั้งหมดหรือในภาวะที่ควบคุมได้มาอยู่ในมือของนักปั่นหุ้น และอาจขอเงินสดจากเจ้าของหุ้นมาเพื่อการทำราคา เจ้าของมีหน้าที่ออกข่าวสนับสนุนเป็นระยะๆ
4.นักปั่นหุ้นจะเก็บหุ้นในกระดานช่วงแรกด้วยการทุบ นวด บีบ ปล่อยซึมยาวจนนักลงทุนรายย่อยที่ถืออยู่ทนไม่ไหวยอมคายให้หมด เมื่อเช็กจำนวนหุ้นว่าหมดอุปสรรคแล้วก็จะนำหุ้นที่ได้จากการเก็บหุ้น และหุ้นที่ได้มาจากเจ้าของหุ้นแจกไพ่กระจายไปยังทีมสังกัดโบรกเกอร์ต่างๆเพื่อไม่ให้ทางการจับได้ว่ามีการซื้อขายกระจุกตัว และนำหุ้นนั้นไปขอมาร์จิ้นจากโบรกเกอร์เพื่อนำเงินมาสร้างราคา
5.ในขั้นตอนการไล่ราคาหุ้นขึ้นนั้น นักปั่นหุ้นจะหาลูกค้าที่เป็นนักลงทุนมือใหญ่ใจหนักมารับไพ่เป็นทอดๆ เช่น หากราคาหุ้นอยู่ที่5บาทเขาจะัแจกไพ่ไปในราคา5บาทหรือมีส่วนลดกว่าในกระดาน โดยให้คำมั่นสัญญาว่าให้คุณไปขายที่ 10 บาท ซึ่งเมื่อถึงราคาที่กำหนดต้องขาย ห้ามอม เพราะนักปั่นหุ้นหาคนมารับช่วงที่10บาทไว้แล้ว(ส่วนกำไรส่วนต่างจาก5บาทมา10บาทนั้น นักปั่นหุ้นอาจขอกำไร50%หรือให้ในราคาที่ตกลงไว้ เช่น 7 บาท แต่ส่วนต่างเกินไป3บาทนักปั่นหุ้นเอาไว้เอง) จากนั้่นก็จะมีคนมารับช่วงต่อที่ 15 บาท 20 25 30 40 50 บาทเป็นทอดๆ พวกลูกค้าที่เคยได้ก็จะเพิ่้มวงเงินขึ้นเรื่อยๆจนแทบจะแย่งกันแทบไม่พอ ต้องไปช่วยไล่ซื้อราคาในกระดานนอกเหนือจากที่ทำข้อตกลง ราคาหุ้นช่วงนี้จึงมักวิ่งแรง
6.นักปั่นหุ้นกับเจ้าของจะทยอยปล่อยStoryออกมาเป็นระยะว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ที่ราคาเว่อร์ๆหลายเท่าตัว โดยเจ้าของหุ้นจะขยันออกข่าวมากเป็นพิเศษ มักจัดอีเว้นต์สารพัดเพื่อให้เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ หรือซื้อหุ้นตัวเองแล้วรายงานไปยังกลต. ความเชื่อมั่นของลูกขา ลูกทีมจะมากเป็นพิเศษจนบอกปากต่อปากกันไปในลักษณะของ”ข่าววงใน”
7.ช่วงเวลาจะขายหุ้นนั้นมักมีการปล่อยสตอรี่เด็ดๆเช่น จะมีคนมาเทกโอเวอร์กิจการ รายใหญ่มีชื่อเสียงจะมาซื้อหุ้นร่วมทุน จะได้งานโครงการใหญ่น้อยสารพัด และการแจกวอร์แรนต์ ขั้นตอนนี้นักลงทุนที่ไม่ใช่ลูกวงลูกขาลูกทีมจะแห่เข้ามามืดฟ้ามัวดิน จะเป็นโอกาสให้นักปั่นหุ้นที่รวบหุ้นคืนจากลูกวงครบแล้วขายแบบโล่งๆให้แมงเม่าที่แห่มาชมกองไฟ
8.หากขายหุ้นได้ไม่ครบจำนวน อาจเกิดรายการโปรโมชั่นพิเศษกับลูกขาลูกวงอีกรอบ เช่นรับราคานี้ไปขายอีกราคาโดยไม่ชักเปอร์เซ็นต์ หรือแจกไพ่ให้โบรกเกอร์ในสายที่เคยรับงานกัน โดยมีส่วนลดจากราคาในกระดาน หรือให้เป็นโบนัสพิเศษ หากชวนลูกตค้าซื้อได้เท่าไหร่ มีเงินทอนให้โบรกเกอร์ที่รับงาน
9.นักปั่นหุ้นเมื่อเสร็จภารกิจจะส่งมอบหุ้นคืนกับเจ้าของ พร้อมเงินต้่น แต่ผลกำไรทั้งหมดก็อาจแบ่งปันกันตามข้อตกลง ส่วนใหญ่คือ50:50 และจ่ายคืนเงินกู้กับโบรกเกอร์ และนักปั่นหุ้นจะนำผลกำไรมหาศาลที่ได้ไปเริ่มงานกับหุ้นตัวใหม่ โดยเริ่มวงจรจากข้อ1ถึงข้อ9 คือ เก็บหุ้น,ไล่หุ้น,ขายหุ้น
10.หากเกิดข้อผิดพลาดใดๆนักปั่นหุ้นจะไม่เสียหายเรื่องเงินเลย เพราะเป็นเงินของเจ้าของ หุ้นของเจ้าของหุ้น สินเชื่อมาร์จิ้นของโบรกเกอร์ เงินไล่ราคาจากลูกวงลูกขาและแมงเม่า อย่างมากหากไม่รัดกุมพอก็โดนทางการเล่นงานข้อหาปั่นหุ้น ซึ่งเมื่อถึงกระบวนการยุติธรรมก็มักหลุด เนื่องจากเขาวางแผนรัดกุมสาวถึงตัวยาก คนในกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ อัยการ ศาล)ก็มักไม่เชี่ยวชาญที่จะจัดการกับนักปั่นหุ้นได้
บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณเข้าไปเป็นลูกขา ลูกวง ลูกทีม หรือเครือข่ายสายในนักปั่นหุ้น แต่เอาไว้ให้รู้ทันเกมของนักปั่นหุ้นเท่านั้น
***********
10เรื่องของนักวิเคราะห์หุ้นที่คุณไม่รู้
10เรื่องของนักวิเคราะห์หุ้นที่คุณไม่รู้
1.นักวิเคราะห์หุ้นมี3ประเภทคือ
-ประเภทแรกที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการวิเคราะห์
-ประเภทที่สองใช้สถิติปริมาณในการวิเคราะห์
-ประเภทที่่3ใช้ชาร์ตในการวิเคราะห์
-(แถมท้ายประเภทที่4ใช้ทั้ง3แบบรวมกัน และเรียกตัวเองว่านักกลยุทธ์)
-ประเภทที่สองใช้สถิติปริมาณในการวิเคราะห์
-ประเภทที่่3ใช้ชาร์ตในการวิเคราะห์
-(แถมท้ายประเภทที่4ใช้ทั้ง3แบบรวมกัน และเรียกตัวเองว่านักกลยุทธ์)
2.นักวิเคราะห์ไม่ถูกห้ามให้เล่นหุ้น เพียงแต่ต้องแจ้งในบทรายงานวิเคราะห์ว่าเขา(หรือเธอ)มีการลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้ขัดแย้งทางผลประโยชน์(Conflict of interest)
3.นักวิเคราะห์มักจะทำการวิเคราะห์หุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องซื้อขายมากๆ(เช่นหุ้นในSET50หรือSET100)เป็นหลักก็เนื่องจากว่าบริษัทขอให้วิเคราะห์ตามที่ลูกค้ารายใหญ่(กองทุน ฝรั่ง รายใหญ่มากๆ)ขอมา ส่วนหุ้นเล็กๆหรือขนาดกลางมักไม่ถูกวิเคราะห์
4.นักวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานจะดูผลดำเนินงานย้อนหลัง หรือ ณ งวดนั้นๆที่ประกาศงบออกมา หรือสัมภาษณ์ผู้บริหาร ประมาณการณ์อนาคต โดยวิอเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์ธุรกิจแล้วประเมินมาเป็นราคาปัจจัยพื้นฐานที่เหมาะสม หากราคาในกระดานต่ำกว่าราคาเหมาะสม จะแนะนำให้”ซื้อ” หากราคาในกระดานสูงกว่าจะแนะนำให้”ขาย” หากราคาใกล้กันอาจแนะนำให้”ถือ” ทั้งนี้ไม่ได้สนใจว่า จังหวะเวลานั้นๆควรจะซื้อหรือขายหรือไม่ เพราะไม่อยู่ในขอบข่ายของการวิเคราะห์
5.นักวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือดูชาร์ตเป็นหลัก จะไม่สนใจเรื่องตามข้อที่ 4 แต่พวกเขา(หรือเธอ)จะสนใจว่าจังหวะเวลาสถานการณ์นั้นๆควรเข้าซื้อ หรือถือ หรือขาย และหากซื้อหรือขายแล้วหุ้นมีเป้าหมายจะตกไป หรือขึ้นไปเท่าไหร่ โดยที่ไม่ได้สนใจว่าพื้นฐานหุ้นตัวนั้นเป็นอย่างไร โดยพวกเขา(หรือเธอ)มีสมมุติฐานว่าราคาหุ้นได้สะท้อนต่อปัจจัยพื้นฐานในอดีต ณ ปัจจุบัน และในอนาคตไว้ในความเคลื่อนไหวของราคาแล้ว
6.นักกลยุทธ์การลงทุนจะนำจุดเด่นของนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(ตามข้อ4) และนักวิเคราะห์ทางเทคนิค(ตามข้อ5)มาผสมกัน โดยหากเห็นพื้นฐานดีหรือแย่ก็ไปหาจุดซื้อหรือขายด้วยชาร์ตทางเทคนิค และอาจนำข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยทั้งภายใน ภายนอกเข้ามาประมวลร่วมด้วย ก่อนกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
7.ที่นักวิเคราะห์เขียนหรือพูดว่าหุ้นมีแนวรับหรือแนวต้านเท่าไหร่ แทนที่จะพูดหรือเขียนว่าให้ซื้อหรือขายเท่าไหร่ ก็เพราะแม้นักวิเคราะห์ฺคนนั้นๆจะมีใบอนุญาตจากกลต. แต่การพูดหรือเขียนเผยแพร่ทางสื่อ ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาคมนักวิเคราะห์อีกด้วย หากไม่ได้รับอนุญาตจะแนะันำซื้อหรือขายไม่ได้ ก็เลยต้องบอกเป็นแนวรับ หรือแนวต้านแทน
8.ที่นักวิเคราะหฺ์เขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เพื่อทำให้รายงานนั้นดูดี หรือดูว่าเธอหรือเขาเก่งภาษาอังกฤษ แต่เพราะว่ามีลูกค้าชาวต่างประเทศอ่านอยู่้ด้วย (ส่วนลูกค้าคนไทยจะไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร…ก็อยากอ่านไม่รู้เรื่องเอง อิอิ)
9.นักวิเคราะห์ไม่มีรายได้เป็นค่าคอมมิสชั่น หรือรายได้พิเศษอะไรอื่นจากบริษัทโบรกเกอร์ นอกจากเงินเดือน และโบนัสประจำปีั พวกเขาหรือเํธอจึงไม่ใช่มนุึษย์ทองคำ(แบบพนักงานการตลาด หรือมาร์เก็ตติ้ง) เวลาบริษัทโบรกเกอร์แย่ๆก็มักจะเล็งมาลดเงินเดือนหรือปลดนักวิเคราะห์ก่อนฝ่ายอื่นๆเสมอ ทำให้วงการเสียนักวิเคราะห์ดีๆไปมาก ต้องหนีไปเป็นมาร์ หรือทำงานเป็นผู้จัดการกองทุนไป
10.นักวิเคราะห์เป็นอาชีำำพเทกระโถนประจำวงการ หากผิดมา มาร์เก็ตติ้งจะบอกว่านักวิเคราะห์ห่วย แต่หากถูกมา มาร์เก็ตติ้งจะได้หน้า ได้ตังค์ ได้หลั่ลล๊ารางวัลพิเศษ
เราจึงเรียกอาชีพนี้อีกอย่างว่านักรับเคราะห์
แถมอีกข้อ 11.นักวิเคราะห์หรือสมาคมนักวิเคราะห์ไม่เคยหยิบยกประเด็นที่ถูกนิืนทาว่า”รับงาน”รายใหญ่(ฝรั่ง กองทุน รายใหญ่มากๆ)ในการเชียร์ซื้อเพื่อให้ขาใหญ่ออกของ หรือเชียร์ขายเพื่อให้ขาใหญ่เก็บศพแต่อย่างใด และเสียงนินทาก็มีมาทุกสมัย
สมาคมนักวิเคราะห์จัดการแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการนำบทวิเคราะห์มาเปรียบเทียบ หรือConsensusกัน เพื่อให้นักลงทุนได้พิจารณาเปรียบเทียบอย่างรอบด้านแทน
#10 เรื่องเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งที่คุณไม่รู้
1.คนที่คุณติดต่อด้วยและเรียกเขาหรือเธอว่าโบรกเกอร์ฺเป็นประจำนั่นแหละคือMarketing หรือพนักงานฝ่ายการตลาดประจำโบรกเกอร์(บริษัทนายหน้าค้าหุ้น)
2.มาร์เก็ตติ้่งไม่จำเป็นต้องจบด้านการเงิน หรือเศรษฐศาสตร์ หรือด้านการลง
ทุนมา เขาหรือเํธอจะจบการประมงหรือนาฏศิลป์มาก็ได้ ขอให้จบปริญญาตรีและสามารถสอบSell License หรือใบอนุญาตเป็นพนักงานขายหรือพนักงานการตลาดก็พอ(ซึ่งก็มีการติวเหมือนสอบอะไรอื่นๆนั่นแหละ) และกลต.บังคับให้ต้องมีการอบรม หรือrefreshเป็นประจำทุก2ปี
ทุนมา เขาหรือเํธอจะจบการประมงหรือนาฏศิลป์มาก็ได้ ขอให้จบปริญญาตรีและสามารถสอบSell License หรือใบอนุญาตเป็นพนักงานขายหรือพนักงานการตลาดก็พอ(ซึ่งก็มีการติวเหมือนสอบอะไรอื่นๆนั่นแหละ) และกลต.บังคับให้ต้องมีการอบรม หรือrefreshเป็นประจำทุก2ปี
3.มาร์เก็ตติ้งจะรอฟังMorning Brriefหรือประชุมบ่ายก่อนเปิดเทรดจากฝ่ายวิเคราะห์(Analyst)จากบริษัทโบรกเกอร์นั้นๆว่าภาวะตลาดเป็นอย่างไร น่าซื้อหรือขาย และมีหุ้นให้ซื้อหรือขายประัจำวัน และสามารถให้คำแนะนำการลงทุนต่อลูกค้่าได้ หากได้รับอนุญาตเป็น”ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากกลต.”
4.ในการโทรสั่งซื้อหรือขายทุกครั้งไปที่โบรกเกอร์ มาร์เก็ตติ้งจะบันทึกการสนทนาของคุณทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานว่าคุณได้สั่งซื้อขายจริง และป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดกฎกลต. เช่น ปล่อยข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปั่นต่างๆ หรือการทำผิดกฎกลต.(แต่มาร์เก็ตติ้งจะใช้มือถือโทรหาคุณเองหากมีข่าวทำนองที่ว่านี้)
5.มาร์เก็ตติ้งไม่มีเงินเดือนประจำ หรือหากจะมีก็เรียกว่าอินเทนซีฟที่บริษัทโบรกเกอร์จัดให้ แต่จะมีรายได้หลักจากค่านายหน้าคอมมิสชั่น เช่นคุณซื้อขาย1ล้านบาท จ่ายค่าคอมม์ไป2500บาท มาร์เก็ตติ้งจะได้ราวๆ700บาท ดังนั้นจึงผิดมหันต์หากคุณบอกว่าไม่รู้เรื่องหุ้นแล้วไปยกให้มาร์เก็ตติ้งจัดการซื้อขายแทนตัวคุณ เพราะมาร์เก็ตติ้งอาจจะซื้อๆขายๆบ่อยๆเพื่อหารายได้จากคอมมิสชั่นมากกว่าจะรักษาผลประโยชน์ของคุณเอง
6.มาร์เก็ตติ้งเคยได้ฉายาว่าเป็นมนุษย์ทองคำก็เพราะว่านอกจากรายได้จากค่าคอมมิสชั่นจำนวนมากหากตลาดบูมแล้วก็ยังอาจได้โบนัสงามๆจากบริษัทโบรกเกอร์อีก หากเป็นมัยบูมๆเคยมีจ่ายโบนัส24เดือนก็เคย หรือเป็น12เดือนก็มี แต่แน่นอนว่าบริษัทโบรกเกอร์ต้องตั้งเป้าหมายให้มาร์เก็ตติ้งทำยอดขาย หรือยอดเทรดให้ถึงเป้านั้นๆด้วย
7.มาร์เก็ตติ้งทุกคนจะบอกว่าพวกเขาหรือเธอไม่เคยซื้อขายหุ้นให้บัญชีตัวเอง เพราะเกรงจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of interest) แต่การมีบัญชีนอมินีซื้อๆขายๆนั้นเป็นเรื่องที่ทำกันแทบทุกคน(หรือจะเถียง) เหตุผลหนึ่งก็เพราะในยามตลาดซบเซาสุดๆลูกค้าแทบไม่มีรายการซื้่อขายก็พลอยได้อาศัยบัญชีนอมินีมาซื้อๆขายๆสร้างวอลุม เพราะหากไม่มีวอลุม บริษัทโบรกเกอร์ก็จะกดดันให้ลาออกอีกหละ
8.ลูกค้ามักมีความผูกพันกับมาร์เก็ตติ้งเป็นการส่วนตัวมากกว่าจะผูกพันอยู่กับบริษัทนายหน้าค้าหุ้น ก็จึงมักเห็นมีการย้ายค่าย การซื้อตัวหรือการซื้อยกทีมมาร์เก็ตติ้งกันอยู่เป็นปกติ(ที่ไม่ปกติคือพวกที่ไม่มีใครมาซื้อตัวนั่นแหละ แสดงว่าทำเงินจากวอลุมไม่เก่ง) เพราะหากลงทุนซื้อมาร์เก็ตติ้ง หรือซื้อมาร์เก็ตติ้งยกทีมไป ก็เท่ากับซื้อวอลุม ซื้อลูกค้าไปแบบยกล็อตนั่นเอง
9.มาร์เก็ตติ้งจะรู้เรื่องจังหวะซื้อขายเข้าออกด้วยชาร์ตเทคนิคน้อยมากจนน่าใจหาย หรือบางทีรู้เรื่องปัจจัยพื้นฐานแบบไม่รู้ลึก อ่านงานวิจัยก็แค่บันทัดสุดท้ายตรงประเมินมูลค่าหุ้นเหมาะสมและคำแนะนำ”ซื้อ”หรือ”ขาย”แล้วก็มาบอกต่อ พวกเขาหรือเธอมักเสาะแสวงหา”ข่าว”ประเภทที่เชื่อกันว่าข่าววงลึกวงใน ข่าวออเดอร์ขาใหญ่ ออเดอร์ฝรั่ง ออเดอร์ กองทุนซะมากกว่า แต่บางทีก็เจอสับขาหลอกกันไปมา ดังนั้นลูกค้าที่หวังพึ่งเรื่องจังหวะเข้ิาออกให้ถูกทางกับมาร์เก็ตติ้งจึงต้องคิดให้ดี(และมาร์เก็ตติ้งที่ไม่คิดจะหาความรู้เรื่องนี้ก็ระวังให้จงหนัก เพราะลูกค้าในช่วงหลังมีความรู้ดีมากๆ พวกเขาไม่เทรดตามข่าวอะไรอีกแล้ว)
10.หากมาร์เก็ตติ้งทำเสียงกระซิบกระซาบกับคุณว่าข่าวนั้นวงในมากๆให้ซื้อเดี๋ยวนี้ อาจจะแปลความไปอีกทางว่าเขาหรือเธอกำลังวางขายอยู่ และลุ้นสุดขีดให้คุณตกลงเคาะ ณ วินาทีนั้น
อย่างไรก็ตามมาร์เก็ตติ้งดีๆที่คุณพึ่งพาอาศัยได้ก็มีไม่น้อย คบๆไปซักพัก ก็จะหลงรักพวกเขา หรือเธอไปเอง
ที่เขียนมานี้่เอาเป็นว่าอันไหนที่ทำให้ไม่สบายใจกันกับมาร์เก็ตติ้งผมกราบขอโทษครับ เจตนาคือบทความชุดนี้จะเขียนไปเรื่อยๆเกี่ยวข้องกับวงการหุ้นที่ลูกค้าไม่รู้ และควรต้องรู้ไว้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าเอง(ผมได้ยินเรื่องทำนองนี้มามากก็ประมวลมาเขียนเตือนๆกัน เช่น เอาเงินไปฝากมาร์ฯเล่นให้ ทุกอย่างขึ้นกับมาร์พาเทรด และสารพัด สุดท้ายก็แย่ทั้งมาร์ทั้งลูกค้า)
ว่าไปแล้วผมก็อยากให้ลูกค้ามาแชร์กันด้วยซ้ำครับว่ามีมาร์เก็ตติ้งที่ไหนดีๆ นักวิเคราะห์ดีๆจะได้แชร์กัน เป็นการให้รางวัลคนที่ดีมีผลงาน ทำประโยชน์ให้ลูกค้าให้วงการ พวกที่เป็นแกะดำก็จะได้่สูญหายไป
เครดิต
Nikky
(ห้องคุยนักลงทุน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น