มาทำความรู้จักภาษีมรดกครับ
1) ใครที่โอนทรัพย์สินของตนให้ลูกหลานหรือผู้อื่น ก่อนตนตายไม่น้อยกว่า 5 ปี (ครบ5ปีก่อนตนตาย) ผู้รับมรดกไม่ต้องเสียภาษีมรดก
2) ถ้าโอนฯน้อยกว่า 5 ปี ผู้รับมรดกต้องจ่ายเงินภาษีมรดกตามสัดส่วนดังนี้
4ปีก่อนตาย ผู้รับมรดก เสียภาษีฯ 10% ของมูลค่ามรดกรวม
3ปี.....เสีย 20%
2ปี..........30%
3) ไม่ถึง 2 ปี หรือตายไปเสียก่อนโอนฯ ผู้รับมรดกเสียภาษีมรดก 40%
ตัวอย่าง ภาษีมรดก ลด คอรัปชั่นได้อย่างไร
เช่น รมว.คลังรบ.นี้ ที่มีทรัพย์สินรวยสุดคือ 500กว่าล้านบาท
สมมุติมีกม.ภาษีมรดกใช้แล้ว และ
สมมุติเกิดตายตกไปในวันนี้
ผู้ที่มีสิทธิรับมรดก อันดับแรกคือ เมียและลูก ของรมว.คลัง ก็จะต้องหาเงินสดไปจ่ายภาษีมรดกเป็นจำนวนถึง 200 กว่าล้านบาท
เคยมีกรณีศึกษา(ในอังกฤษ)ว่า
ผู้รับมรดก ไม่มีเงินสดไปเสียภาษีมรดก (เพราะมรดกเป็นที่ดินไม่ใช่เงินสด)
ผู้รับมรดก ต้องการยกเว้นการจ่ายเงินภาษีมรดก จึงบริจาคมรดกที่ดินนั้นให้เป็นของรัฐไป
และ กรณีที่ซุกซ่อนทรัพย์สิน เช่น นายกฯ บางคนที่รวยแบบซุกซ่อนทรัพย์สิน และชอบอ้างว่าจน สมมุติตายไปในวันนี้ ผู้ที่รับซ่อนทรัพย์สินเอาไว้ ไม่ต้องเสียภาษีมรดก เพราะไม่มีใครรู้ว่าเป็นทรัพย์สมบัติของอดีตนายกฯผู้ตายไป
แต่ถ้าเมีย,ลูกและญาติสนิทอื่นๆ อยากทวงทรัพย์สมบัติของอดีตนายกฯที่เสียชีวิตมาเป็นของตน ก็ต้องไปหาเงินสดมาเสียภาษีมรดกถึง 40% ของมูลค่าทรัพย์สมบัตินั้นๆ
ข้อสังเกต
1) ภาษีมรดก ทำให้ คนยิ่งรวยมาก สร้างทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้เมียลูกมาก รัฐฯยิ่งหาเงินได้มาก
2) ใครที่กลัวว่า เมียและลูก จะลำบากหาเงินมาเสียภาษีมรดกภายหลังที่ตนตาย ก็จะรีบยกทรัพย์สมบัติออกไปให้พ้นตัว เป็นการกระจายความรวย ลดปัญหาการมีอำนาจบารมีล้นฟ้าของคนๆเดียวลงได้
3) เมื่อคนเห็นว่า ความรวยไม่ได้ทำให้ลูกเมียสบายขึ้นเลย รังแต่จะทำให้ลำบากเพิ่มคือต้องไปหาเงินสดมาเสียภาษีมรดก ความโลภก็จะลดลงไปอย่างไม่ตั้งใจและไม่ต้องเป็นคนดี
4) นำไปสู่ การทำหมันคอรัปชั่น อย่างได้ผล
เว้นเสียแต่ว่า หลักการจัดเก็บภาษีมรดก ถูกบิดเบือนไปจากนี้
เครดิต
Thanya Kaew
(ห้องคุยนักลงทุน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น